วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

สัปดาห์ที่4 โปรแกรม Web Browser และการสืบค้นข้อมูล


โปรแกรมWeb Browser และการสืบค้นข้อมูล

สัปดาห์นี้ได้ทดลองทำการสืบค้นข้อมูลประเภทต่างๆ เช่นการค้นหาข้อมูล รูปภาพ โดยการใช้โปรแกรม SearchEngine อื่นๆ เช่น google โดยพิมพ์

การเรียกโปรแกรมเว็บบราวเซอร์เพื่อเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ บนเวิลด์ไวด์เว็บโปรแกรมเว็บบราวเซอร์เป็นโปรแกรมที่ทำงานอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้บริการเว็บใช้สำหรับอ่านข้อมูลและแปลเอกสาร HTML เป็นข้อมูลแสดงผลบนจอภาพที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ
การเรียกใช้งานโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ทำได้โดยการดับเบิ้ลคลิ๊กเรียกโปรแกรมซึ่งเป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน หน้าจอโปรแกรม Internet Explorer ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
• Title Bar แสดงชื่อของหน้าเว็บเพจที่กำลังแสดงผลอยู่
• Menu Bar เป็นเมนูหลักที่รวบรวมคำสั่งต่างๆ สำหรับการใช้งานโปรแกรมเว็บบราวเซอร์โดยมีหลักการทำงานเหมือนกับโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ทั่ว ๆไป
• Toolbar เป็นส่วนของ Icon สำหรับชุดคำสั่งที่ใช้งานบ่อย ๆ
• Address ใช้แสดง Uniform Resource Locator (URL) ของเว็บเพจปัจจุบัน

การเรียกดูข้อมูลโดยการระบุ URLการเรียกดูข้อมูลต่างๆในหน้าเว็บที่อยู่บนเวิลด์ไวด์เว็บ ทำได้โดยพิมพ์ URL (Uniform
Resource Locator) ที่ต้องการในส่วนของ Address box เช่น http://www.buu.ac.th แล้วกดแป้น
Enter จะปรากฏจอภาพ

1. http://www.google.co.th/ ในช่อง Address ของโปรแกรม InternetExplorer จะปรากฏจอภาพจากเว็บไซต์ของ google




จากนั้นให้คลิ๊กเลือกหัวข้อรูปภาพ เพื่อค้นหารูปภาพเกี่ยวกับหัวข้อที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ต้อง
การหารูปภาพ คอมพิวเตอร์ให้ระบุคำว่า computer ลงในช่องค้นหา


2.การสืบค้นแบบซับซ้อน ด้วยโปรแกรม Google Search Engine
เรียกใช้โปรแกรม Googleโดยพิมพ์ http://www.google.co.th ในช่อง Address ของโปรแกรม
Internet Explorer จะปรากฏจอภาพจากเว็บไซต์ของ google จากนั้นคลิ๊กที่ลิงค์ ค้นหาแบบละเอียด ที่
ด้านซ้ายของกล่องข้อความ





การค้นหาแบบละเอียดแบบ ด้วยทั้งหมดทุกคำ
1 . ในช่องที่สอง ด้วยทั้งหมดทุกคำ ให้พิมพ์ thai newspaper
2. คลิ๊กที่ปุ่ม ค้นโดยgoogle สังเกตผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหา


การค้นหาแบบละเอียดแบบ ด้วยบางส่วนทุกคำ
1 . ในช่องที่สาม ด้วยบางส่วนทุกคำ ให้พิมพ์ thai newspaper
2. คลิ๊กที่ปุ่ม ค้นโดยgoogle สังเกตผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหา

การค้นหาแบบละเอียดแบบ ด้วยบางส่วนทุกคำ และ ไม่มีคำนี้
1 . ในช่องที่สาม ด้วยบางส่วนทุกคำ ให้คงข้อความค้นหา thai newspaper ไว้เหมือนเดิม
2. ในช่องที่สี่ ไม่มีคำนี้ ให้พิมพ์ daily คลิ๊กที่ปุ่มค้นโดยgoogle สังเกตผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหาว่าเป็นอย่างไร




3. หากต้องการค้นหาแบบละเอียดโดยระบุ ภาษา ที่แสดงอยู่ในเว็บเพจที่เป็นผลลัพธ์จากการค้นหา ทำได้โดยระบุที่ตัวเลือก ภาษา
หากต้องการค้นหาแบบละเอียดโดยระบุ ชนิด ของแฟ้มข้อมูลที่ต้องการค้นหา ทำได้โดยระบุที่ตัวเลือก ชนิดของไฟล์
หากต้องการค้นหาแบบละเอียดโดยระบุ ระยะเวลา ที่เว็บเพจที่ต้องการค้นหาถูกปรับปรุงหรือแก้ไข ทำได้โดยระบุที่ตัวเลือก วันที่
หากต้องการค้นหาแบบละเอียดโดยระบุ โดเมน การค้นหาเว็บเพจที่ต้องการ ทำได้โดยระบุที่ตัวเลือก โดเมน




เมื่อเรารู้ขั้นตอนในการค้นหาแล้ว ก็จะทำให้การค้นหาข้อมูลต่างๆของเรามีความง่ายมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551

สัปดาห์ที่ 3 การใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล

สัปดาห์ที่ 3

การใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล


ในคาบนี้อาจารย์ให้สร้างเว็บเพจ โดยใช้โปรแกรม Notepad ในหน้าเว็บเพจนี้จะประกอบด้วย ประวัติส่วนตัว รูป มีการเปลี่ยนสีตัวอักษรและ blackground ตามชอบ- เสร็จแล้ว Save โดยใช้ชื่อว่า index.html เก็บไว้ในไดร์ฟ C:
เราจะใช้โปรแกรมประยุกต์ WinSCP ในการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล ทำได้โดยการ
1.Double Click ที่ icon WinSCP3 ซึ่งอยู่บนเดสก์ท็อป จะปรากฏหน้าจอการเข้าใช้งานโปรแกรม WinSCP
2. กรอกข้อมูลลงในช่องต่างๆช่องที่ 1 Host name กรอกชื่อเครื่องให้บริการ(Host Name) ที่ต้องการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล ในที่นี้ให้พิมพ์ seashore.buu.ac.thช่องที่ 2 User name กรอกชื่อผู้ใช้ ในที่นี้ให้พิมพ์ รหัสนิสิตช่องที่ 3 Password กรอกชื่อรหัสผ่าน ในที่นี้ให้พิมพ์ รหัสผ่านของนิสิตหลังจากกรอกข้อมูลต่างๆเรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม Login
3.จะปรากฏหน้าจอแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนทางซ้ายแสดงรายชื่อโฟลเดอร์และ แฟ้มข้อมูลที่อยู่ในLocal Host และส่วนทางขวาแสดงรายชื่อไดเรกทอรี และแฟ้มข้อมูลที่อยู่ภายใน Remote Host
4. เมื่อต้องการสร้างโฟลเดอร์ใหม่ในเครื่อง Local Host จากนั้นกดปุ่ม F7 ให้สร้างไดเรกทอรีชื่อ public_html จากนั้นกดปุ่ม OK
5. อัพโหลดแฟ้มข้อมูลจากเครื่อง Local Host ไปยังเครื่อง Remote Host ทำได้โดยการคลิ๊กเมาส์ปุ่มซ้ายค้างไว้ที่แฟ้มชื่อ index .html และ รูปต่างๆที่ใช้ จากไดร์ฟ C: จากนั้นลากเมาส์ไปยังหน้าจอด้านขวาและปล่อยปุ่มเมาส์
6.เรียกดูผลลัพธ์ของเอกสาร HTML ที่สร้างขึ้น ทำได้โดยพิมพ์ http://seashore.buu.ac.th/~รหัสนิสิต ในช่อง Address และกดปุ่ม Enter


วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สัปดาห์ที่2 โปรแกรมรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

สัปดาห์ที่2
โปรแกรมรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ในสัปดาห์นี้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างเอกสารข้อมูลและการส่งเอกสารข้อมูลผ่านทางเวปของมหาวิทยาลัย
ขั้นตอนการทำก็ไม่ยุ่งยาก เพราะทุกๆคุ้นเคยกับการส่ง e-mail ผ่านทาง hotmail เป็นประจำอยู่แล้ว เราสามารถสร้างเอกสาร
ข้อมูลได้ด้วยตนเอง ส่งเอกสารข้อมูลไปยังผู้รับหลายๆคนได้และเรายังเก็บสำเนาเอกสารข้อมูลไว้หรืดส่งต่อให้คนอื่นได้

ขั้นตอนการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
1. เปิดโปรแกรม เว็บบราวเซอร์ โดยการเรียกโปรแกรม
2. ในช่อง Address พิมพ์ http://mail.buu.ac.th/ ลงไปและกดปุ่ม Enter จะเข้าสู่หน้าจอ
3. พิมพ์ชื่อผู้ใช้(สำหรับนิสิต ให้ใส่รหัสนิสิต)ลงไปในช่อง user name จากนั้นพิมพ์รหัสผ่านลงไปในช่อง password
จากนั้นคลิ๊กที่ปุ่ม Login
1.2 การส่งจดหมาย
1. เมื่อต้องการส่งจดหมาย คลิ๊กที่ "เขียนจดหมาย"บนแถบเครื่องมือโดยจากหน้าจอที่ปรากฏ สามารถอธิบายข้อมูลที่ต้องกรอกลงไปในแต่ละช่องข้อความ ดังนี้
1. ถึง ให้พิมพ์ e-mail address ของบุคคลที่ผู้ส่งต้องการส่งจไปถึงหากมีผู้รับหลายคน สามารถคั่นแต่ละ e-mail addressด้วยเครื่องหมายจุลภาค
2.สำเนาถึง ให้พิมพ์ e-mail address ของผู้รับคนอื่นที่ผู้ส่งต้องการส่งสำเนาจดหมายไปถึงหากมีผู้รับสำเนาหลายคน สามารถคั่นแต่ละ e-mail address ด้วยเครื่องหมายจุลภาค
3.ซ่อนสำเนาถึง ให้พิมพ์ e-mail address ของผู้รับคนอื่นที่ผู้ส่งต้องการส่งสำเนาจดหมายไปถึงโดยซ่อนสำเนาถึง ตัวผู้มีการทำงานคล้ายกับ สำเนาถึง เพียงแต่มีข้อแตกต่างกันที่ เมื่อผู้ส่งตัวผู้รับสำเนาจดหมายด้วย ซ่อนสำเนาถึง แล้ว ผู้รับจดหมาย (ในที่นี้คือเจ้าของ e-mail address ในส่วนของ ถึง) จะไม่ทราบว่าถึง ที่จดหมายที่ได้รับนั้น ถูกทำสำเนาไปถึงผู้อื่นด้วยหรือไม่ แต่สำหรับกรณีของ สำเนาถึง ผู้รับจดหมายหัวสามารถรู้ได้จากส่วนของ สำเนาอยู่ในส่วนหัวของจดหมายว่าจดหมายที่ได้รับนั้น ผู้ส่งได้ทำสำเนา จดหมายไปหาผู้อื่นด้วยเรื่องให้พิมพ์หัวเรื่องจดหมายที่ต้องการส่งให้กับผู้รับ
เราสามารถแนบเอกสารที่เราต้องการส่งไปให้แก่ผู้รับได้อีกด้วย หากต้องการตอบกลับหรือส่งต่อก็สามารถทำได้หรือหากไม่ต้องการก็สามรภลบทิ้งได้เช่นกัน




วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สัปดาห์ที่1 ปฏิบัติการที่ 11 การใช้งาน Blogger


สัปดาห์ที่1


ปฏิบัติการที่ 11 การใช้งาน Blogger


หลังจากที่ทำ quiz ครั้งที่3 เสร็จเรียบร้อย อาจารย์ก็เริ่มสั่งงาน

ให้ทำปฏิบัติการที่ 11 เรื่องการใช้งาน Blogger


โปรแกรมประเภทบล็อกเป็นโปรแกรมที่ใช้สาหรับการบันทึกข้อมูลต่างๆ

อาจจะเป็นข้อความ รูปภาพ หรือสื่ออื่นๆ ที่สามารถเก็บบนระบบเครือข่ายได้

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่าบล็อกเป็นเหมือนไดอารีออนไลน์ (Daily Online)

ที่ผู้ใช้สามารถสมัครได้ฟรี บทความต่างๆ จะถูกบันทึกและเก็บไว้

บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ทั่วๆไปสามารถที่จะค้นหาบทความต่างๆได้

บางบทความหากผู้ใช้ไม่ต้องการเผยแพร่ก็สามารถที่จะปกปิดไม่ให้ผู้อื่นเห็นได้

บทความเหล่านี้เป็นข้อมูลที่มาจากผู้ใช้ ซึ่งอาจจะมีทั้งเรื่องราวชีวิต

ประสบการณ์ หรือเรื่องต่างๆ ที่จะบันทึกตามความคิดของผู้ใช้บล็อก

ซึ่งหากผู้ใช้งานอื่นๆที่อ่านบล็อกสามารถที่จะแสดงความคิดเห็น (Comments)

หรือรูปภาพต่างๆได้ เจ้าของบล็อกสามารถที่จะอ่านความคิดเห็นที่ผู้ใช้อื่น

มาบันทึกไว้ (Posts) สามารถลบความคิดเห็นที่ไม่ชอบ

หรือสามารถที่จะแก้ไขจัดการบล็อกของตนเองได้อย่างเต็มที่

โปรแกรมที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น hi5, MSN Spaces, Bloggang, Blogger และอีกหลายโปรแกรม